วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555

การพัฒนาระบบป้องกันใบสั่งยาหาย




CQI  งานประกันสุขภาพ

เรื่อง     ใบสั่งยาหายไปไหน

ข้อมูล
-                    ใบสั่งยาผู้ป่วยนอก ที่มารับบริการในแต่ละวันไม่ครบตามจำนวนที่ผู้มารับบริการ
-                    ไม่พิมพ์ใบสั่งยาออกมาในแต่ละวัน
-                    ไม่ส่งใบสั่งยาทุกวันตามที่กำหนด
-                    รายการในใบสั่งยาและระบบ Hosxp ไม่ตรงกัน

เป้าหมายของกิจกรรม

ตัวชี้วัด
เป้าหมาย
1. อัตราการส่งใบสั่งยาต้องตรงและครบทุกวัน
100
2. อัตราการพิมพ์ใบสั่งยาต้องครบทุกครั้ง
100
3. อัตราการส่งใบสั่งยาต้องตรงตามกำหนด
100
4. รายการยาในใบสั่งยากับระบบ Hosxp ต้องตรงกันทุกครั้ง
100


สาเหตุรากเหง้าของปัญหา
1.            เจ้าหน้าที่แต่ละหน่วยงานไม่มีผู้รับผิดชอบใบสั่งยารวมถึงการส่งใบสั่งยา
2.            เจ้าหน้าที่แต่ละหน่วยงานรวบรวมส่งไม่ตรงตามเวลากำหนด
3.            เจ้าหน้าที่แต่ละหน่วยงานไม่ตระหนักถึงความสำคัญของใบสั่งยา
4.            ไม่มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการส่งใบสั่งยาโดยตรงในแต่ละหน่วยงาน

การวางแผนแก้ไขและปรับปรุง

ครั้งที่  1          สรุปผลการดำเนินงาน  ( เดือน ม.ค. เม.ย. 2554 )


ตัวชี้วัด
เป้าหมาย
เดือน ม.ค. เม.ย.  2554
1. อัตราการส่งใบสั่งยาต้องตรงและครบทุกวัน
100
93.6
2.อัตราการพิมพ์ใบสั่งยาต้องครบทุกครั้ง
100
74
3. อัตราการส่งใบสั่งยาต้องตรงตามกำหนด
100
75
4. รายการยาในใบสั่งยากับระบบ HHosxp ต้องตรงกันทุกครั้ง
100
84



ผลลัพธ์ที่ได้        ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

สาเหตุรากเหง้า
1.            เจ้าหน้าที่ยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งใบสั่งยาทุกวัน
2.            เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงใบสั่งยาแล้วเจ้าหน้าที่ไม่เปลี่ยนรายการยาในระบบ  Hosxp ทำให้รายการในใบสั่งยาและระบบ Hosxp ไม่ตรงกัน
3.            เจ้าหน้าที่ไม่เก็บรวบรวมใบสั่งยาส่งตรงตามกำหนดคือต้องส่งใบสั่งยาทุกวันจะตัดยอดใบสั่งยา  6 ทุ่มของวันต่อมา
4.            ขาดเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโดยตรง
การวางแผนแก้ไขและปรับปรุง
-                    ห้องสิทธิบัตรนัดประชุมเกี่ยวกับใบสั่งยาในวันที่  19  เม.ย.  54
-       จากการประชุมในวันที่  19  เมษายน  2554  ได้ผลสรุปว่า ทางฝ่ายเภสัชกรรมจะช่วยดูใบสั่งยาว่าตรงกับระบบ  Hosxp หรือไม่ และไม่สามารถเช็คใบสั่งยาทุกจุดที่นำส่งได้
-       ห้องเก็บเงิน  ให้น้องการเงินเช็คใบสั่งยาเหมือนเดิม
-       ให้ห้อง  IT สร้างโปรแกรมเช็คใบสั่งยาในแต่ละเวร
-       ห้องสิทธิบัตรเช็คใบสั่งยาอีกครั้ง

ครั้งที่  2  ผลการดำเนินงาน  ( เดือน พ.ค. ส.ค. )


ตัวชี้วัด
เป้าหมาย
เดือน พ.ค. ส.ค. 2554
1. อัตราการส่งใบสั่งยาต้องตรงและครบทุกวัน
100
87.7
2.อัตราการพิมพ์ใบสั่งยาต้องครบทุกครั้ง
100
78
3. อัตราการส่งใบสั่งยาต้องตรงตามกำหนด
100
89
4. รายการยาในใบสั่งยากับระบบ HHosxp ต้องตรงกันทุกครั้ง
100
               74


ผลลัพธ์   ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายได้มีการปรับปรุงใหม่

สาเหตุรากเหง้าปัญหา
1.            จากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ยังพบอุบัติการณ์ใบสั่งยาขาดหายเกิดขึ้นอยู่ทุกวัน
2.            การแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนรายการในใบสั่งยาแล้วไม่แก้ไขในระบบ Hosxp ยังเกิดขึ้นอยู่ทุกวัน

การวางแผนแก้ไขและปรับปรุง
-                    งานสิทธิบัตรได้นัดประชุมในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับใบสั่งยาอีกวันที่  7  มิ.ย. 54ได้ผลสรุปว่า
-                    ในการตรวจเช็คใบสั่งยาที่ ER ให้แต่ละเวรพิมพ์รายชื่อและเช็คให้ครบก่อนส่งที่ห้องยา
-                    ห้องยาเช็คใบสั่งยาจาก ER เวรบ่ายดึกตรงกับที่พิมพ์มาหรือไม่
-                    ห้องฟันต้องส่งใบสั่งยาเช้าวันต่อมาต้องส่งทุกวัน
-                    ถ้ามีการเปลี่ยนรายการยาในใบสั่งยาต้องเปลี่ยนในคอมพิวเตอร์ด้วยทุกครั้ง
        ครั้งที่  3   ผลการดำเนินงาน  ( ก.ย. ธ.ค.  2554 )


ตัวชี้วัด
เป้าหมาย
เดือน ต.ค. ธ.ค. 2553
1. อัตราการส่งใบสั่งยาต้องตรงและครบทุกวัน
100
100
2.อัตราการพิมพ์ใบสั่งยาต้องครบทุกครั้ง
100
94
3. อัตราการส่งใบสั่งยาต้องตรงตามกำหนด
100
100
4. รายการยาในใบสั่งยากับระบบ HHosxp ต้องตรงกันทุกครั้ง
100
96


        ผลลัพธ์ที่ได้  ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ แต่เกือบได้ 100 %
         สาเหตุรากเหง้าของปัญหา 1.   เจ้าหน้าที่ยังไม่ตระหนักถึงปัญหาของใบสั่งยาที่หายไป
          2. เจ้าหน้าที่มีภาระงานเพิ่มมากขึ้น
จากการเรียนรู้ได้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น
1.            มีการมอบหมายงานที่ชัดเจนในการตรวจเช็คใบสั่งยา
2.            ลดการทำงานที่ซับซ้อนระหว่างเจ้าหน้าที่
3.            ได้มีการลงอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อใบสั่งยาไม่ครบในแต่ละวัน
โอกาสพัฒนาต่อไป
1.            การวางแผนพัฒนาคุณภาพในแต่ละจุดบริการ
2.            แผนการประเมินผลที่บูรณาการเป็นงานประจำของหน่วยงาน
3.            เก็บข้อมูลให้ได้ตรงและครบทุกวัน

การพัฒนาระบบป้องกันการ Miss Diagnosis


การพัฒนาระบบป้องกันการ Miss Diagnosis

โดยงานเทคโนโลยีสารสนเทศและเวชระเบียน


วัตถุประสงค์ของ CQI

เพื่อให้ผู้ป่วยทุกรายที่มารับการตรวจรักษา
ต้องมีการลงวินิฉัยโรคทุกราย
 ความสำคัญของปัญหา
 Øสถิติและรายงานไม่ตรงตามความเป็นจริง


Plan & Do  ขาดความรู้เรื่องการให้รหัสโรค (IDC10)  และหัตถการ (ICD9-CM)1.  จัดประชุมเรื่องการให้รหัสโรคและการตรวจสอบความสมบูรณ์ของเวชระเบียน
2. 
จัดทำคู่มือรหัสโรคที่พบบ่อยให้กับหน่วยงานต่างๆ
3.  เพิ่มรหัสคำย่อที่ใช้บ่อยในโปรแกรม
HOSxP  สำหรับห้องตรวจแพทย์  (ICD-Codemap)
ผลการดำเนินงาน (ต่อ)

Øข้อมูลที่ต้องใช้ประกอบในการเบิกจ่ายเงินจากหน่วยงานต่างๆ
Øการส่งข้อมูลผู้ป่วยใน 12 แฟ้มมาตรฐาน  18  แฟ้มและ 8 แฟ้มของงานส่งเสริมสุขภาพ
Øสูญเสียรายได้ของหน่วยงานจากการได้รับเงินจัดสรรน้อยกว่าปกติ
Øความสมบูรณ์ของเวชระเบียนและมีความเสี่ยงเมื่อมีการขอประวัติย้อนหลัง
Øการส่งรายงานล่าช้า  เนื่องจากต้องรอให้จุดต่างๆบันทึกข้อมูลย้อนหลัง
วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
Øขาดความรู้เรื่องการให้รหัสโรค (ICD10) และหัตถการ(ICD9-CM)
Øขาดความรู้เรื่องการใช้โปรแกรม HOSxP
Øไม่เข้าใจระบบการเชื่อมโยงโปรแกรมภายในหน่วยงาน
Øขาดการตรวจสอบการบันทึกข้อมูล
Øผู้ป่วยไปรับบริการอย่างอื่นที่ไม่ผ่านแพทย์
Øเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้า / อุปกรณ์ไม่เพียงพอ
การประเมินผล / ตัวชี้วัดของความสำเร็จ
ผู้ป่วยทุกรายที่มารับการตรวจรักษา
ต้องมีการลงวินิจฉัยโรคทุกราย (อัตรา 100 %) ”
ผลการดำเนินงาน