วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555

การพัฒนาระบบบริการคลินิกเบาหวาน



กิจกรรมพัฒนาคุณภาพ (CQI)
เรื่อง        การพัฒนาระบบการให้บริการคลินิกโรคเบาหวาน

การพัฒนาระบบการให้บริการคลินิกเบาหวาน ให้ครอบคลุมในทุกๆด้านนั้น  สามารถทำได้โดย  เจ้าหน้าที่สร้างความสัมพันธ์กับผู้ป่วยและผู้รับบริการ   เพื่อตอบสนองความต้องการและการได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วยและญาติ  รวมทั้งมีกระบวนการสร้างความเข้าใจที่ดี  การให้ข้อมูลข่าวสาร การแลกเปลี่ยนมุมมอง การเรียนรู้เกี่ยวกับการเจ็บป่วยสุขภาพ ทำให้การประเมินความพึงพอใจ/วิธีการวัดผล   สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้
จากการประเมินตนเองเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ของหน่วยงานและจากข้อร้องเรียนของผู้รับบริการ  ทำไห้ได้รับทราบถึงโอกาสพัฒนา หน่วยงานทีมดูแลผู้ป่วยเบาหวานจึงได้มีการประชุมเสนอแนวความคิดในการพัฒนาระบบการให้บริการ   พัฒนาคุณภาพการบริการพยาบาลขึ้น  และมีขั้นตอนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่ชัดเจน

ที่มากิจกรรม
1.      ไม่มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน
2.      การประเมินสภาพผู้ป่วย ล่าช้า ทำให้เกิดภาวะฉุกเฉินขณะรอตรวจ
3.      ผู้ป่วยมากในบางวัน จำนวนเจ้าหน้าที่ ไม่แน่นอน
4.      ความพึงพอใจในบริการ
5.      ระยะการรอคอยยาวนาน ขั้นตอนการรับบริการซ้ำซ้อน

ขอบเขต  ผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่คลินิกเบาหวาน     โรงพยาบาลพรเจริญ

เป้าหมายกิจกรรม

1.      ระบบการบริการชัดเจน
2.      ป้องกันการเกิดภาวะฉุกเฉิน
3.      ผู้ป่วยฉุกเฉิน และผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงได้รับการดูแลเบื้องต้น
4.      ผู้รับบริการพึงพอใจในบริการ
5.      ลดระยะการรอคอย ลดขั้นตอนการรับบริการของผู้ป่วยเบาหวานที่คลินิกเบาหวาน
6.      เพื่อลดความซ้ำซ้อนของขั้นตอนการรับบริการ
เครื่องชี้วัด
1.      อัตราผู้ป่วยเบาหวาน Hypoglycemia ขณะรอตรวจคลินิก เบาหวาน < 5 ราย
2.      อัตราความพึงพอใจ > 80 %
3.      ระยะเวลาการรอคอย ไม่เกิน 5 ชั่วโมง

สาเหตุรากเหง้า 

วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา

จากเจ้าหน้าที่ ไม่มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบดำเนินงานและไม่มีระบบงานที่ชัดเจน
          จากผู้ป่วย   1. ขาดความรู้  ความเข้าใจ ในขั้นตอนการรับบริการ
     2. ผู้ป่วยสูงอายุ ตามองไม่ชัด หูไม่ได้ยิน การรับรู้น้อย  บางคนไม่มีญาติ  ทำให้มีปัญหาเรื่องการ สื่อสาร เกิดความล่าช้า


ปัญหาเดิมก่อนการปรับเปลี่ยน
1.                          ขั้นตอนการรับบริการของผู้ป่วยเบาหวานที่คลินิกเบาหวาน  มีหลายขั้นตอน   ซ้ำซ้อนทำให้บริการล่าช้า  เกิดความไม่พึงพอใจของผู้ป่วยที่รอนาน
2.                          ขาดการสื่อสารข้อมูลในเรื่องระยะเวลารอรับบริการและความรู้ในการดูแลตนเองของผู้ป่วย   
3.                          กิจกรรมและสิ่งแวดล้อมในการส่งเสริมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยและญาติมีน้อย   มีข้อผิดพลาดในระบบบริการที่ส่งผลกระทบกับผู้มารับบริการในหน่วยงาน
4.                          มีปัญหาเรื่องลำดับคิวตรวจ เกิดปัญหาข้อร้องเรียน
5.                          ไม่มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบคลินิกเบาหวานโดยตรง ไม่มีระบบงานที่อย่างชัดเจน

มีการปรับเปลี่ยนทั้งหมด 4  ครั้ง
หลังจากมีการปรับปรุงระบบขั้นตอนการปฏิบัติงานมาหลายครั้ง    ผู้มารับบริการกล่าวชมในระบบบริการที่ปรับปรุงใหม่   สามารถลดขั้นตอนการรับบริการ   และสามารถลดระยะเวลาการรอคอย ทำให้ผู้มารับบริการมีความพึงพอใจมากขึ้น และยังสามารถลดอัตราเจ้าหน้าที่ลง

          สามารถเพิ่มกิจกรรมการเสริมสร้างพลัง EMPOWERMENT  ในผู้มารับบริการให้สนใจและตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว  เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถค้นหาปัญหาและหาแนวทางแก้ปัญหาได้ โดย

*    ให้ความรู้การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน  โดยพยาบาลวิชาชีพ  ให้สุขศึกษารายบุคคลในรายที่มีปัญหาซับซ้อน  กรณีผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่  จะมีการให้ความรู้โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ

*    จัดบริการอาหารเช้าฟรี หลังเจาะเลือด  โดยจัดเป็นเมนูตัวอย่างสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน (ข้าวต้มข้าวกล้อง,น้ำเต้าหู้) ร่วมกับนักโภชนากรและโรงครัว
*    นำออกกำลังกาย โดยนักกายภาพบำบัด  ฝึกลมหายใจเข้า ออก โดยใช้เพลงดอกไม้บาน
*    Self Help Group 
*    กิจกรรมการดูแลสุขภาพที่บ้าน (Home Health Care) 
สรุปผลการดำเนินงานปรับเปลี่ยน

ตัวชี้วัด
ระดับที่ปฏิบัติได้
2552
2553
2554
2555 (6เดือน)
1. อัตราผู้ป่วยเบาหวาน Hypoglycemia ขณะรอตรวจคลินิก เบาหวาน < 5 ราย
4
4
1
0
2.อัตราความพึงพอใจ > 80 %
81.91%
82.69%
81.34%
86.52%
3.อัตราของระยะเวลาการรอคอย ไม่เกิน 5 ชั่วโมง >90%
76.51%
83.78%
88.54%
100%





สิ่งที่อยากพัฒนา
1.      ปรับปรุงสถานที่บริเวณห้องบัตรและจุดคัดกรอง ให้มีความสะดวกในการให้บริการ สามารถคัดกรองซักประวัติพร้อมวัดสัญญาณชีพได้ ณ จุดเดียวกัน เพื่อลดขั้นตอนในการรับบริการ
2.      สร้าง EMPOWERMENT ในผู้มารับบริการนอก ให้สนใจและตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว
3.      ด้านระบบ IT ของแผนกผู้ป่วยนอก  โดยการใช้ IT ช่วยในการปฏิบัติงานและพัฒนาบุคลากรด้านความรู้ความสามารถด้าน IT และวิชาการต่างๆอย่างสม่ำเสมอ

                              นางรัชฏาภรณ์  ขุนพิจารย์      

                                 โรงพยาบาลพรเจริญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น